วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ

บทที่ 7ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ

บทที่ 7
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
จัดทำโดย นาย สราวุฒิ เชื้อกสิกรรม รหัสนักศึกษา 6031280064
  
บทที่ 7
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
   ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์  และซอฟต์แวร์ประยุกต์ มีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น MS - DOS , UNIX , Windows 95 , และ Mac System 7 เป็นต้น

ประเภทของระบบปฏิบัติการ 
อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) 

ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)  
- มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้นๆ)
- นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน
- รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- ปัจจุบันสามารถเป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย 

ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS) ตัวอย่าง เช่น
- MS-DOS
- Windows 3.x
- Windows95
- Windows98
- Windows Millennium Edition
- Window XP
- Window Vista
- Window 7
- Window 8
1.MS – DOS  (Microsoft  Disk  Operating  System)
    MS – DOS  (Microsoft  Disk  Operating  System)   เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปี      ค.ศ. 1980  จากบริษัท  Microsoft   พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้  Microprocessor  รุ่น  8086,  8088,  80286,  80386,  80486  สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์  IBM  Compatible  ทั่วไป  มี  2  เวอร์ชัน (Version)  ได้แก่  PC-DOS  และ  MS-DOS 
 - ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้  (User  Interface)  เป็นแบบป้อนคำสั่ง  (Command – line  User  Interface)  MS – DOS
 - ส่วนประกอบโปรแกรม  3  ส่วน  คือ  IO.SYS  MS – DOS.SYS  และ  COMMAND.COM  ทั้ง  3  โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ  สำหรับ  MS – DOS.SYS  และ  IO.SYS  นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน
 คำสั่งในระบบ  MS – DOS  จะแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
        -  คำสั่งภายใน  (Internal  Command)  เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ
        - คำสั่งภายนอก  (External  Command)  คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ 

สรุป  MS-DOS

 
- พัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980
- ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก
- ป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า
command-line



2.Windows  3.X
 ประมาณต้นปี  ค.ศ. 1990  บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า  GUI  (Graphic  User  Interface)  โดยใช้ภาพเล็ก ๆ  เรียกว่า   ไอคอน (Icon)  และใช้เมาส์  (Mouse)  แทนคีย์บอร์ด  (Key  Board)
        นอกจากนี้  Windows 3.0  ขึ้นไป  ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking  ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ  Windows  ขึ้นมามี  3  เวอร์ชัน  (Version)  ได้แก่  Windows 3.0,  Windows 3.1  และ  Windows 3.11

3.Windows 95
    ต่อมาในปี ค.ศ. 1995  บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต  Windows95  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน  (Multitasking)  การทำงานในลักษณะเครือข่าย  (Network) Windows  95   มีคุณลักษณะเด่น  ดังนี้
    -  มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก  (Graphical  User  Interface :GUI) 
    -  มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์  และสามารถใช้โปรแกรมหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน 
    -  มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า  Word  Pad  โปรแกรมวาดรูป และเกมส์
    -  เริ่มมีเทคโนโลยี  Plug  and  Play  และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย
    - อินเทอร์เน็ต  โดยติดตั้ง  Windows 95  ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่  MS-DOS  ก่อน  แต่สามารถใช้งานร่วมกับ  MS-DOS  ได้
    -  สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน  Windows 3.1  ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข  และซอฟต์แวร์ที่รันบน  Windows 95  มีความสามารถส่ง  Fax  และ  E – mail  ได้ 

4. WIndows 98 
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ  Windows 95   ระบบปฏิบัติการ Windows 98  เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน  Windows  โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่าง 
มีประสิทธิภาพ  
 5.Windows  Millennium  Edition 
               เรียกสั้น ๆ ว่า  “Windows  ME”  ในเวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก  Windows 98  เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า  มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น  

 6.Windows XP
    เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการทำงานร่วมกับ  Internet  Explorer 6  และ  Microsoft  Web  Browser   
  Windows  XP  มี 8 ชนิด  คือ         
        Microsoft Windows XP Starter Edition
        Microsoft Windows XP Home Edition
        Microsoft Windows XP Professional Edition
        Microsoft Windows XP Media Center Edition
        Microsoft Windows XP Tablet PC Edition
        Microsoft Windows XP Edition N
        Microsoft Windows XP 64-Bit Edition
        Microsoft Windows XP Embedded 
 7. Windows  Vista 
     มีทั้งหมด 6 Editions ประกอบไปด้วย
        1.Windows Vista Starter
        2.Windows Vista Home Premium
        3.Windows Vista Home Basic
        4.Windows Vista Business
        5Windows Vista Enterprise
        6.Windows Vista Ultimate  

1.Windows Vista Home Premium 
            Windows Vista Home Premium หรือเทียบเท่า Windows XP Home edition + Windows XP Media Center Edition
    -มาพร้อมกับ Interface ใหม่ที่ชื่อ Aero และได้ใส่ความสามารถของ Desktop Search, Windows Media Center, Windows PC Tablet Technology,
สนับสนุน HDTV และ ใส่ความสามารถของ DVD Burnner
 
2.Windows Vista Home Basic  
               Windows Vista Home Basic จะเทียบเท่ากับ Windows XP Home Edition      
- ซึ่งจะมี Internet browsing, e-mail และ ระบบสร้างเอกสารที่จำเป็นต่าง ๆ ซึ่ง Windows Vista Home Basic จะมาพร้อมกับความสามารถใหม่ที่ชื่อว่า Search Explorer, Sidebar และ Parental Controls 

3. Windows Vista Home Basic 
 จะมาพร้อมกับ Interface ใหม่ ที่เรียกว่า Windows Aero และระบบ Navigation สำหรับทางด้านจัดการเอกสารทางธุรกิจต่าง ๆ มากมาย รวมถึงได้ใส่ความสามารถของ Desktop Search
               - โดยใน Windows Vista Business นั้นจะเทียบเท่ากับ Windows XP Professional ซึ่งรองรับ Windows Server domains, IIS (Internet Information Services) web server, Windows Tablet PC Technology โดยได้ built-in Handwriting มาพร้อมเช่นกัน  

4.Windows Vista Enterprise 

    มาพร้อมกับการทำงานแบบเดียวกับ Windows Vista Business แต่ได้เพิ่มการจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงสุดโดยผ่าน Hardware Encryption Technology, Microsoft’s Virtual PC และ Multilingual user interface (สนับสนุน GUI หลายภาษา) 

5. Windows Vista Untimate 

            มีคุณสมบัติทางด้าน Entertainment, Mobility และ Business ที่พร้อมทั้งหมดในตัวเดียว โดยได้เพิ่ม Blogcasting (podcasting + blog), Game performance tweaker (WinSAT), DVD ripping ซึ่งใน Edition นี้เหมาะกับ High-end PC, Gamers, Multimedia Professionals และ PC enthusiasts 

ระบบการทำงานของ Windows Vista 
                - โดยทุก ๆ รุ่น ยกเว้น Windows Vista Starter จะออกมารองรับ 2 ทั้งระบบ CPU 32-bit และ CPU 64-bit แต่ใน Windows Vista Starter ที่มีเพียงระบบ CPU 32-bit เท่านั้น 
                 - ซึ่ง Windows Viata Home Basic/Premium , Utimate และ Business จะมาพร้อมกับ Package Retail (กล่อง) และเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ (OEM)
และสำหรับ Windows Vista Enterprise นั้นจะจำหน่ายให้กับลูกค้าระดับธุรกิจองค์กรเท่านั้น โดยต้องเป็นลูกค้าที่ซื้อในลักษณะ Software Assurance program ของ Microsoft เท่านั้น  

8. Windows 7 
        Windows 7 เป็น 3 ส่วน
 1. ส่วนที่เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นแกนหลักของระบบปฏิบัติการที่ทำให้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันได้ 
                   - สำหรับส่วนแรกนั้น Windows 7 พัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista ทำให้ในส่วนของแกนหลักของระบบปฏิบัติการแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายนัก ไม่ว่าจะเป็น ระบบเอฟเฟ็กต์ Aero ไดรเวอร์ต่างๆ รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Use Account Control ที่ปรับปรุงให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ช่วยให้สามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยโดยสามารถกำหนดระดับการเตือนได้ โดยไม่มีการเตือนที่น่ารำคาญเหมือนกับ Windows Vista
                    - ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน Windows 7 ใช้ทรัพยากรที่น้อยกว่า Windows Vista โดยหน่วยความจำขั้นต่ำ ใช้เพียง 1 กิกะไบต์ ในขณะที่ Windows Vista ใช้อย่างน้อย 2 กิกะไบต์ (แต่แนะนำให้ใช้จริงๆ 4 กิกะไบต์) โดยสังเกตได้ว่า Windows 7 จะใช้ทรัพยากรระบบน้อยลง และมีประสิทธิภาพในการทำงานเร็วกว่าทั้ง Windows Vista และ XP ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ 

 2. ระบบติดต่อกับผู้ใช้ หรือ Use Interface 
                      - มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีกว่าที่มีใน Windows Vista (ผู้ใช้งาน Windows XP ก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก) โดยจะมีการปรับปรุงการใช้งานทาสก์บาร์ที่ดีขึ้น โดดยจะจัดไอเท็มที่คล้ายกันและมีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน สามารถลากไอเท็มที่ต้องการไปวางบนไอเท็มที่รวมกลุ่มกัน และสามารถพรีวิวดูคอนเทนต์เมื่อวางพอยน์เตอร์เหนือไอคอนบนทาสก์บาร์ได้ด้วย รวมไปถึงคุณสมบัติ Aero Peek, System Tray, Jump List 
                       - Gadget ที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องวางไว้บน Sidebar เหมือนใน Windows Vista ผู้ใช้สามารถวางไว้ในที่ใดก็ได้บนเดสก์ทอป และจะมีปุ่ม show desktop ที่จะแสดงเดสก์ทอปทั้งหมดและคอลเล็กชั่น Gadget ของคุณโดยไม่ต้องมินิไมซ์หน้าต่างไหนลงทาสก์บาร์ รวมทั้งการปรับปรุงด้านการประหยัดพลังงาน ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น

3. โปรแกรมต่างๆ ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม 
                        - จะมีการจัดกลุ่มให้สามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น เช่น Windows Live Essential จะประกอบด้วยโปรแกรม Windows Photo Gallery, Windows Movie Maker, Windows Mail, Windows Calendar เป็นต้น
                         - ทาสก์บาร์แบบใหม่ ที่รวม Quick Launch ไว้ด้วยกัน สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น เมื่อนำพอยน์เตอร์ไปวางที่ไอคอนของโปรแกรมจะมีพรีวิวแสดงหน้าต่างแบบเต็มจอภาพประกฎขึ้น
                    
Windows 7 แบ่งได้ 5 เอดิชั่น 
1. Windows 7 Starter
Windows 7 Starter (สำหรับเครื่องใหม่เท่านั้น)                     
               โดยรุ่นนี้ จะเหมาะกับเครื่องใหม่ที่ไม่ได้ใช้งานอะไรมากนัก รวมไปถึงเน็ตบุ๊กต่างๆ และมีเวอร์ชั่น 32 บิตเท่านั้น มีคุณสมบัติทาสก์บาร์ปรับปรุงใหม่, Jump List, Windows Media Player, Backup and Restore, Action Center, Device Stage, Play To (สามารถเล่นเพลงไปยังเครื่องเสียงที่ตั้งไว้ที่อื่น) Fax and Scan, เกมพื้นฐานต่างๆ สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Aero Glass, Aero desktop enhancements ต่างๆ , Windows Touch, Media Center, Live thumbnail previews, Home Group creation 
 
2. Windows 7 Home Premium
                 Windows 7 Home Premium เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไป มีคุณสมบัติ Aero Glass, Aero Background, Windows Touch, Home Group creation, Media Center, DVD Playback and authoring, เกมพรีเมี่ยมต่างๆ, Mobility Center สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Domain join (สนับสนุนการล็อกอินแบบมีโดเมน), Remote Desktop host, advanced backup, EFS, Office Folders 
 
3. Windows 7 Professional
                  Windows 7 Professional เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไป มีคุณสมบัติ Domain join (สนับสนุนการล็อกอินแบบมีโดเมน), Remote Desktop host, location aware printing, EFS, Mobility Center, Presentation Mode, Office Folders สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs,บูตจาก VHD
 
4. Windows 7 Enterprise
                   Windows 7 Enterprise เหมาะสำหรับผู้ใช้ในองค์กรที่ซื้อแบบ Volume-license มีคุณสมบัติ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs, boot from VHD, Virtualization สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Retail licensing
 
5. Windows 7 Ultimate
                    Windows 7 Ultimate เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ทั่วไป แต่จำกัดความสามารถในการใช้งาน มีคุณสมบัติ BitLocker, BitLocker To Go, AppLocker, Direct Access, Branche Cache, MUI language packs, boot from VHD สิ่งที่ขาดหายไปในเวอร์ชั่นนี้ คือ Volume licensing

9. Windows 8
                        มีอินเตอร์เฟซที่เรียกว่า Live tile (รูปภาพ หรือไอคอนสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่เรียงต่อกันบนหน้าจอ) บน Windows Phone ถูกนำมาใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows 8 โดยจะแสดงบนหน้าจอเริ่มต้น (Start Screen) ให้ผู้ใช้ได้เห็นเมื่ืออุปกรณ์ที่ทำงานด้วย Windows 8 ของเขาเริ่มทำงาน (ล็อกอินจากหน้า Lock Screen) 


              เนื่องจากการทำงานของ Windows โดยธรรมชาติจะมีรูปแบบของการทำ"หลายงาน" (multitasking) และเพื่อให้ Windows 8 รองรับการทำงานบนหน้าจอของ"แท็บเล็ต"ได้อย่างลงตัว ทางผู้พัฒนาจึงได้ออกแบบให้มันมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่เรียกว่า "snapping" ซึ่งปกติผู้ใช้จะสามารถเลือกดูแอพฯต่างๆ ที่กำลังทำงานได้ด้วยการกวาดนิ้วจากซ้ายไปขวา แต่ด้วยฟีเจอร์นี้คุณสามารถลากแอพฯ เพื่อแบ่งหน้าจอในการดูแอพฯตัวอื่นๆ ได้ ในขณะที่แอพฯตัวปัจจุบันยังคงทำงานอยู่ แม้จะถูกย่อให้เหลือพื้นที่ในการทำงานเล็กลงไปก็ตาม
              อินเตอร์เฟซของ Internet Explorer 10 ได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการทำงานในระบบสัมผัส ในขณะที่รองรับแอพพลิเคชันที่พัฒนาด้วย HTML5 และการเร่งการทำงานกราฟิกด้วยฮาร์ดแวร์ทีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสำหรับหน้าจอสัมผัสขนาดใหญ่ ไมโครซอฟท์ได้ออกแบบ"คีย์บอร์ดเสมือนบนหน้าจอ" (On Screen Virtual keyboard) ที่สามารถใช้นิ้วสัมผัสได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยแบ่งคีย์บอร์ดเป็นสองส่วน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความด้วยมือทั้งสองได้สะดวกยิ่งขึ้น
              Windows 8 จะสนับสนุนการทำงานของซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 7 และระบบไฟล์ของพีซีทั่วไป ดังนั้น พีซีอื่นๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่บนเครือข่าย ตลอดจนเซิร์ฟเวอร์จะสามารถเข้าถึงได้อย่างสมบูรณ์โดยอุปกรณ์พกพาทีทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8


 

 
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
 - มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (multi-user)
 - นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
 - มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป 
 - เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่าเครื่อง server (เครื่องแม่ข่าย)

ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) ตัวอย่าง เช่น
Mac OS X
Windows NT
Windows 2000 Professional
OS/2 Warp Client
Unix
Linux
Solaris  

1. Mac OS X
                  ระบบปฏิบัติการ  Macintosh  Operating  System     เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ  GUI  ในปี  ค.ศ. 1984  ของบริษัท  Apple  ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ  Mac  OS  โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า  Mac  OS  X  เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท  Apple  และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน  (Multitasking)  เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง  (Desktop  Publishing)  
  - ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทแอปเปิ้ลเท่านั้น
  - เหมาะสมกับการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์เป็นหลัก
  - มีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ Windows

2. Windows NT
                    Windows  NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้ายกับ  Windows  95  พัฒนามาจาก  LAN  Manager และ  Windows  for  Workgroup  โดย  Windows  NT มี  2  เวอร์ชัน  ได้แก่  Windows  NT  Server  และ Windows  NT  Workstation  โดยที่  Server  จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็นWorkstation

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ  Windows  NT  มีดังนี้
    -  สามารถใช้กับตัวประมวลผล  (Processor)   ได้หลายแบบ  ทั้ง  Pentium,  DEC  และ  Alpha  โดยย้ายรูปแบบโปรแกรมข้ามระบบได้
    -  สามารถเพิ่มขยายหน่วยความจำได้ถึง  4  จิกกะไบต์ (GB)
    -  ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกันและสามารถเปลี่ยนแปลงรายการแบบพหุคูณ  หรือหลายรายการพร้อมกัน  (Multithreading)
    -  สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล  (CPU)  มากกว่า  2  โปรเซสเซอร์

-  สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ  NTFS  ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ  FAT  (File  Allocation  Table)  เพียงอย่างเดียว
    -  สามารถสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจานแม่เหล็กหลายตัวต่อเป็นชุด  ซึ่งเรียกว่า  RAID  (Redundant Aray of Inerpenside Disks)
    -  มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน  และสามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน
    - โปรแกรมที่ใช้ระบบ  DOS  ก็สามารถจะนำมาใช้งานบน  Windows  NT  ได้

3. Windows 2000 Professional
             เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก  เช่น  มีโปรแกรม  Windows  Installation  Service  ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์  เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน  จุดเด่นของ  Windows 2000  คือ  การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน  Multi  Language

4. Windows Server 
               Windows Server ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ เดิมมีชื่อว่า Windows NT รองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server) 

5. OS/2 Warp Client
               พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท  IBM  ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์  PS/2 เข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย
                สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน  (Multitasking)  ได้มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า  Windows  สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก
                OS/2  ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม  เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่  และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2  ก็มีน้อย 

                OS/2 Warp Serverพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มใช้เป็นระบบเพื่อควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ server เช่นเดียวกัน 

6. UNIX
                          เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงานหลาย  ๆ   โปรแกรมพร้อมกัน   (Multitasking)   และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์  (Multi-User)  คือ  มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  เช่น  เครื่องเมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น  (Workstation)  เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ  UNIX  สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี  User  ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง  120  ตัว ไปพร้อม ๆกันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก  (Network)

 - ผู้ใช้กับต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร
 - รองรับกับการทำงานของผู้ใช้ได้หลายๆคนพร้อมกัน (multi-user)
 - มีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย

7. LINUX

                          เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIXพัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  PC 

 - พัฒนามาจากระบบ Unix
 - ใช้โค้ดที่เขียนประเภทโอเพ่นซอร์ส (open source)
 - มีการผลิตออกมาหลายชื่อเรียกแตกต่างกันไป
 - มีทั้งแบบที่ใช้สำหรับงานแบบเดี่ยวตามบ้านและแบบที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครือข่ายเช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการแบบ Unix

8. Solaris
                          เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ  UNIX  พัฒนาโดยบริษัทSun  Microsystems  เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce

 - ทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการแบบ Unix (Unix compatible)
 - ผลิตโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์

  
 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)
 - พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ smart phone บางรุ่น
 - สนับสนุนการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี 
 - บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  

ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)  ตัวอย่าง เช่น
Windows Mobile หรือ Windows CE
Palm OS
Symbian OS
OS X
Android

1. Windows Mobile
Windows Mobile
          ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดที่เล็กลง (scaled-down version) รองรับการทำงานแบบ multi-tasking มักติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ๆหลายรุ่น

2. Palm OS
Palm OS
          พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Windows Mobile ของไมโครซอฟท์ลักษณะงานที่ใช้จะคล้ายๆกันใช้กับเครื่องที่ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์มและบางค่ายปัจจุบันมีการพัฒนาอินเทอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม รองรับการทำงานผ่านเว็บสำหรับเครื่องบางรุ่น โดยตั้งชื่อใหม่ว่า webOS

3. Symbian OS
Symbian OS
           รองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะนิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือประเภท smart phone สนับสนุนการทำงานแบบหลายๆงานในเวลาเดียวกัน (multi-tasking)

4. OS X
OS X
           ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่อง iPhoneเป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac
มาพร้อมซอฟต์แวร์ช่วยอำนวยความรองรับการทำงานพร้อมๆกันหลายโปรแกรมหรือ Multitasking

5. Android
Android
           พัฒนาโดยบริษัท Google ผู้นำด้านเสิร์ชเอ็นจิ้นมีโปรแกรมสำหรับการใช้งาน เช่น SMS, ปฏิทิน บราวเซอร์ สมุดโทรศัพท์ โปรแกรมดูวิดีโอจาก YouTube, Wiki Mobile และGoogle maps
   


อ้างอิง
http://pornpimonl2534.blogspot.com/2010/08/1_16.html
http://www.chantra.sru.ac.th/OS.html





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น