วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการ

ใบงานที่2
การแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการ
จัดทำโดย นาย สราวุฒิ เชื้อกสิกรรม รหัสนักศึกษา 6031280064

1 ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 3 ประเภท
    1.1 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone  OS)
    เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว (เจ้าของเครื่องนั้น ๆ) นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
DOS (Disk Operating System)
DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command- line ซึ่งต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้น ๆ ได้ ผลิตขึ้นมาครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS เพื่อใช้กับเครื่องของบริษัทไอบีเอ็ม ภายหลังเมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นจนเกิดเครื่องที่ผลิตขึ้นมาเลียนแบบอย่างมากมายคล้ายกับเครื่องของไอบีเอ็ม (IBM compatible ) บริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งมีทีมงานที่เคยผลิต PC-DOS ให้กับไอบีเอ็มมาก่อนจึงได้ทำระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเองและเรียกชื่อใหม่ภายหลังว่า MS-DOS นั่นเอง 
 
Windows
Windows การทำงานที่ต้องคอยป้อนคำสั่งทีละบรรทัดเพื่อเรียกทำงานในระบบปฏิบัติการแบบ DOS นั้น สำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้และความชำนาญเพียงพอ มักจะจดจำรูปแบบคำสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานได้ไม่ค่อยดีนัก บริษัทไมโครซอฟต์จึงได้นำเอาแนวคิดของระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) ซึ่งมีผู้คิดค้นขึ้นก่อนหน้านั้นไม่นานนักมาใช้ในระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Windows เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ใช้และระบบปฏิบัติการสามารถทำงานงานร่วมกันได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการนำเอารูปแบบของสัญลักษณ์ที่เป็นภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนข้อมูลคำสั่งทีละบรรทัดโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจดจำคำสั่งต่าง ๆ ก็สามารถใช้งานได้โดยง่าย Windows ใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ซึ่งจะแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆ รุ่นด้วยกันWindows XP เป็นเวอร์ชันล่าสุดที่ได้มีการพัฒนาและจำหน่ายไปยังทั่วโลก (เวอร์ชันต่อไปที่คาดว่าจะผลิตออกมามีชื่อรหัสว่า Longhorn คาดว่าจะมีการวางจำหน่ายประมาณปี 2006 - 2007)


  
Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน ( multi-user ) การปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย


Mac OS X
Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพาะเท่านั้น ซึ่งเน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก รุ่นก่อนหน้านี้จนถึง Mac OS 9 เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร แต่รุ่น OS X
(X คือเลข 10 แบบโรมัน) ได้รับการพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่ก็ยังเป็นแบบเฉพาะตัวอยู่ คือเครื่องของบริษัทอื่นหรือที่ประกอบขึ้นมาเองไม่สามารถที่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบการประมวลผลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานต่าง ๆ ของ Mac OS X จะมีระบบสนับสนุนแบบ GUI เช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการ Windows (และความจริงใช้มาก่อน Windows เสียด้วยซ้ำ)

 Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเปิด ให้ใช้รวมถึงพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ไขชุดคำสั่งต่าง ๆ ได้ฟรี ในปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศได้พยายามส่งเสริมให้มีการใช้ระบบปฏิบัติการตัวนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการค้า เนื่องจากการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ (ระบบปฏิบัติการเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่สามารถผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายได้ทั่วโลกเช่นเดียวกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ซึ่งหากความต้องการในประเทศมีมาก อาจจำเป็นต้องสั่งเข้าในปริมาณที่มากตามไปด้วย) รวมทั้งเพื่อลดปัญหาในประเด็นของความมั่นคงที่จะไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของต่างประเทศ อันได้แก่สหรัฐอเมริกาด้วย
ระบบ Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบโอเพ่นซอร์ส (open source ) ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถจะพัฒนาและแก้ไขระบบต่าง ๆ ได้เองตามที่ต้องการ มีการผลิตออกมาหลายชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนา Linux ออกมาใช้บ้างแล้ว เช่น Linux TLE ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center ) หรือ NECTEC (อ่านว่า “ เนค - เทค” ) เป็นต้น Linux มีทั้งแบบที่ใช้สำหรับงานบนเครื่องสำหรับผู้ใช้คนเดียว และแบบที่ใช้สำหรับงานควบคุมเครือข่ายเช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการแบบ Unix



1.2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
  เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง

Windows Server
Windows Server เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )

  
OS/2 Warp Server
OS/2 Warp Server เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายอีกรูปแบบหนึ่ง ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุมเครื่องแม่ข่ายหรือ Server เช่นเดียวกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง และเลิกพัฒนาต่อไปแล้ว


Solaris
Solaris เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix compatible) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกับระบบอื่น


1.3 ระบบปฏิบัติการแบบฝั่งตัว (Embedded OS)
 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรามักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

Pocket PC OS
Pocket PC OS (Windows CE เดิม) บริษัทไมโครซอฟต์ ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการยักษ์ใหญ่ที่มีความชำนาญจากการสร้างระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพีซีมาก่อน ได้หันมาเน้นการผลิตเพื่อใช้งานร่วมกับการควบคุมในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กมากยิ่งขึ้น โดยสร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีชื่อเรียกว่า Pocket PC OS (เดิมใช้ชื่อว่า Windows CE หรือ Windows Consumer Electronics แต่มีการตั้งชื่อใหม่นี้ในภายหลังซึ่งเริ่มตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป เพื่อให้ชื่อของระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าวเหมือนกับชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กไปเลย)


  การทำงานของระบบปฏิบัติการดังกล่าว เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดเล็กลงและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น (scaled-down version ) สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่น ๆ เช่น ท่องเว็บหรือค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตไปได้พร้อม ๆ กับการฟังเพลงหรือตรวจเช็คอีเมล์ได้พร้อม ๆ กับการสร้างบันทึกช่วยจำ เป็นต้น ผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของ Windows มาก่อนจะใช้งานได้ง่ายและสะดวกมาก เนื่องจากรูปแบบและหน้าต่างการทำงานจะคล้าย ๆ กัน ปัจจุบันอาจพบเห็นในโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone บางรุ่นบ้างแล้ว

  
Palm OS
Palm OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm ( ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์ (เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง) ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว) และ CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว) ซึ่งก็ใช้ระบบ
ปฏิบัติการแบบนี้ด้วยเช่นกัน


Symbian OS
Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone นอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันได้ด้วย (multi-tasking ) ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่นอกเหนือจากแค่รับสายพูดคุยในแบบทั่วไปเพียงอย่างเดียว เช่น การบันทึกการนัดหมาย ท่องเว็บ ล่งและรับอีเมล์รวมถึงรับแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกัน ผลิตโดย บริษัทซิมเบียน ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่หลายค่าย นำโดย Nokia และ Sony ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้เอา OS ชนิดนี้ไปใช้งานแล้วในโทรศัพท์มือถือของตน เช่น Sony Ericsson, Motorola, Nokia และ Samsung เป็นต้น




 อ้างอิง
 1 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone  OS)
http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t10.htm
 2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t16.htm
 3 ระบบปฏิบัติการแบบฝั่งตัว (Embedded OS)
http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t20.htm 
 
 

วันจันทร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี้ยวกับระบบปฎิบัติการ

ใบงานที่1 1 ความรู้เบื้องต้นเกี้ยวกับระบบปฎิบัติการ
จัดทำโดย: นาย สราวุมิ เชื้อกสิกรรม รหัสนักศึกษา:6031280064

1.)ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คืออะไร

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น 

2.)ระบบปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร
ำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์  Keyboard ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  “Keyboard Error”  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ  อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ


3.)ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรบ้าง  
 1 อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives  Convenience)
ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน 
2  ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)  จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
3  เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม  (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ, สามารถทดสอบโปรแกรม, และสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ  โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน

สรุปเป้าหมายและบทบาทของระบบปฏิบัติการ (OS)  สามารถจำแนกได้ 2 เป้าหมายคือ
1.       เป้าหมายหลัก ( Primary goal) คือ  การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้ระบบคอมฯ ได้ง่าย และสะดวกที่สุด (convenience for the user)
2.       เป้าหมายหมายรอง (Secondary goal)  คือ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ
บางครั้ง 2 เป้าหมายนี้อาจขัดแย้งกัน เช่น  ระบบ OS ที่ชาญฉลาดนั้นระหว่างทำงานระบบจะ
ตรวจจับข้อผิดพลาด (Error) อยู่ตลอดเวลา หากพบข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานก็จะมีข้อความแจ้ง (Message) แก่ผู้ใช้  และหากมีข้อความแจ้งบ่อยครั้ง ก็จะกลายเป็นการขัดจังหวะการทำงานทำให้ผู้ใช้ ทำงานได้ไม่สะดวก   ดังนั้นการออกแบบระบบปฏิบัติการ (OS) และการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านตัวเครื่องควรมีความสอดคล้อง และหาจุดกลางระหว่างกันโครงสร้างระบบปฏิบัติการ (OPERATING SYSTEM STRUCTURES)ระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์  ซึ่ง  OS จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานในระดับ Low level ควบคุมและสั่งการเครื่องและอุปกรณ์ได้โดยตรง  สามารถแสดงโครงการการเข้าถึงฮาร์ดแวดร์ ได้ตามรูปด้านล่างนี้ 
4.)จงยกตัวอย่างงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มา 3 อย่าง
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่างๆ
 ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ
ความหมายของระบบปฏิบัติการ
          โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  OS (Operating System)  เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ
         การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า “ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สําคัญ ๆ มีดังนี้
            1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
          ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไปปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:>)ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก



              2. ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
         Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรมเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

             3. ระบบปฏิบัติการ Unix
           Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้(Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)

            4. ระบบปฏิบัติการ Linux
           Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให็สะดวกยิ่งขึ้น


 อ้างอิง